ข่าวประชาสัมพันธ์

มุมความรู้เรื่องขยะ

(20 ก.ย.66) 3Rs…ช่วยโลก ลดขยะ

ใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่

ขยะมูลฝอยที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน เกิดจากบ้านเรือน สถานประกอบการ รวมถึงที่สาธารณะ ดังนั้น เราต้องมีการจัดการขยะมูลฝอยแบบผสมผสาน เน้นการลด การคัดแยก และการใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยการใช้หลัก 3Rs

Reduce ลด (คิดก่อนใช้) : ลดระดับการใช้ปัจจุบัน ควบคุมปริมาณการใช้ให้อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ เป็นการลดปริมาณมูลฝอยที่อาจเกิดขึ้น เช่น ใช้ถุงผ้า ตระกร้า เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้กระดาษทิชชู่ ใช้ปิ่นโต หรือกล่องข้าวใส่อาหารแทนกล่อมโฟม ปฏิเสธการรับถุงพลาสติกเมื่อซื้อของชิ้นเล็กหรือน้อยชิ้น เลือกซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เลือกทานอาหารที่ร้านแทนการห่อกลับ หลีกเลี่ยงใช้วัสดุสิ้นเปลืองแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

Reuse ใช้ซ้ำ (ใช้แล้วใช้อีก) : การใช้ซ้ำ การนำสิ่งของที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า เช่น ใช้กระดาษ 2 หน้า ใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำหลายครั้งก่อนทิ้ง ใช้ภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำได้ เลือกซื้อสินค้าที่สามารถใช้ซ้ำได้ เช่น ถ่านไฟฉายแบบชาร์ตได้ ดัดแปลงของเหลือใช้เพื่อใช้ประโยชน์ เสื้อผ้าเก่านำไปบริจาคหรือถูพื้น ซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ทิ้งเป็นขยะ

Recycle นำกลับมาใช้ใหม่ : คัดแยกขยะมูลฝอยแต่ละประเภทที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หมุนเวียนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตของแต่ละประเภท เช่น ขวดแก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ เลือกซื้อสินค้าที่นำกลับมารีไซเคิลได้หรือที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล นำขยะอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมัก

หากทำได้ครบทั้ง 3Rs ก็จะสามารถลดปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นได้ และยังนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า แทนที่จะถูกทิ้งแล้วนำไปกำจัด ดูน้อยลง

ที่มา : http://krateeb.go.th/?p=6449

(21 ส.ค.66) สพป.สิงห์บุรีจัดกิจกรรมรณรงค์และให้ความรู้การลดและคัดแยกขยะ//

วันจันทร์ ที่ 21 สิงหาคม 2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี โดยกลุ่มอำนวยการ จัดกิจกรรมรณรงค์ลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงาน โดย นางสาวกุลธิดา อ่อนมี รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี ได้กล่าวเชิญชวนบุคลากร สพป.สิงห์บุรี ร่วมกันรณรงค์คัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง เพื่อให้ขยะถูกส่งต่อไปในกระบวนการที่ถูกต้องได้ง่ายขึ้น เช่น นำไปเผา นำไปรีไซเคิล นำไปย่อยสลาย ฯลฯ และการให้ความรู้ประเภทของขยะ โดยนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และสาธิตการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง

http://enews.singarea.org/ReNews.php?reNews=6581

https://www.facebook.com/100057179390975/posts/pfbid02fVpCtvVgCngpepZn5DkfzRRnRGot8oSfXEwwLvTwTH1cqWVFmxKCpCkZchGstSunl/?mibextid=cr9u03


(20 ก.ค.66) ขยะอันตราย และมีพิษในสำนักงาน

ที่มา : คู่มือการคัดแยกขยะอันตรายในสำนักงาน จัดพิมพ์โดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน คู่มือฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนข้อมูลทางวิชากรจากกรมควบคุมมลพิษ https://drive.google.com/file/d/1y5pLa1g7G-pbbnEiUFhqxrAspf2KiCL1/view?usp=sharing

(19 มิ.ย.66) แนวทางการจัดการขยะรุปแบบใหม่ และบริหารจัดการขยะตามวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณพ์

ที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสิงห์บุรี 

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0ogSqWpbB3XkoAZ8mWhpj4SupHNuu7hYQJ9hyLW6GHfcrGzxLeFkf6ByLo3TipHoUl&id=100064332326816

(12 พ.ค.66) การลดขยะ ด้วยแนวคิด 3R

          3R เป็นแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า สามารถช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง ด้วยการลดการใช้ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) โดยเริ่มต้นที่การใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Reduce) การนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือ รีไซเคิล (Recycle)

Reduce – ลดการใช้ (คิดก่อนใช้)

        ลดระดับการใช้ปัจจุบัน ควบคุมปริมาณการใช้ให้อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง เพราะการลดการบริโภคของเรา จะช่วยให้เราลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้นได้ ในขั้นตอนนี้เริ่มต้นโดยการสำรวจว่าเราจะลดการบริโภคที่ไม่จำเป็นตรงไหนได้บ้าง ตัวอย่าง เช่น

ลดการสร้างขยะในที่ทำงาน แก้ไขบนหน้าจอไม่ใช่บนกระดาษ เพื่อลดการใช้กระดาษ /ใช้อีเมลเพื่อลดการใช้กระดาษ/ คิดก่อนพิมพ์หรือถ่ายสำเนา พิมพ์และทำสำเนาให้น้อยที่สุด/ส่งและจัดเก็บเอกสาร เช่น เอกสารที่จำเป็นและข้อเสนอทางธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะเป็นกระดาษ/เมื่อต้องพิมพ์หรือทำสำเนาให้ทำสองด้าน/หมุนเวียนเอกสารแทนการทำสำเนาเฉพาะสำหรับทุกคน/เปลี่ยนระยะขอบบนเอกสาร Word ระยะขอบเริ่มต้นของเอกสารที่พิมพ์คือ 1.25 นิ้วทุกด้าน เพียงเปลี่ยนระยะขอบเป็น 0.75 นิ้วจะช่วยลดปริมาณกระดาษที่ใช้ลงเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์/ลดการสร้างขยะในชีวิตประจำวัน/ใช้ถุงผ้า ตระกร้า เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก/ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้กระดาษทิชชู่/ใช้ปิ่นโต หรือกล่องข้าวใส่อาหาร แทนการใส่กล่องโฟม/ปฏิเสธการรับถุงพลาสติก เมื่อซื้อของชิ้นเล็กหรือน้อยชิ้น/เลือกซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เลือกทานอาหารที่ร้านแทนการใส่กล่องกลับ/หลีกเลี่ยงใช้วัสดุสิ้นเปลืองแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

Reuse – นำกลับมาใช้ซ้ำ (ใช้แล้วใช้อีก)

          การใช้ซ้ำ เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ซ้ำ ซึ่งบางอย่างอาจใช้ซ้ำได้หลาย ๆ ครั้ง เช่น ใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำหลายครั้งก่อนทิ้ง ใช้ภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำได้ เลือกซื้อสินค้าที่สามารถใช้ซ้ำได้ ซึ่งนอกจากช่วยลดการเกิดขยะแล้ว ยังช่วยลดปริมาณการตัดต้นไม้ได้เป็นจำนวนมาก

เลือกใช้ถ่านไฟฉายแบบชาร์ตได้ ดัดแปลงของเหลือใช้เพื่อใช้ประโยชน์ /เสื้อผ้าเก่านำไปบริจาค หรือถูพื้น/ซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ทิ้งเป็นขยะ

การใช้กระดาษ 2 หน้า/การนำกระดาษรายงานที่เขียนแล้ว 1 หน้า มาใช้ในหน้าที่เหลือหรืออาจนำมาทำเป็นกระดาษโน๊ต

Recycle – นำกลับมาใช้ใหม่

          คัดแยกขยะมูลฝอยแต่ละประเภท ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หมุนเวียนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตของแต่ละประเภทได้

ขวดแก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ เลือกซื้อสินค้าที่นำกลับมารีไซเคิลได้หรือที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล นำขยะอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมัก

หากเราทุกคน สามารถทำได้ครบทั้ง 3Rs ก็จะสามารถลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆ วัน  ลดการสร้างมลพิษเเก่โลก และยังนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า แทนที่จะถูกทิ้งแล้วนำไปกำจัด และนอกจากช่วยลดปริมาณขยะลงได้แล้ว ยังช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากร ใช้ทรัพยากรอย่างคุมค่า ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ด้วย

ที่มา : https://webportal.bangkok.go.th/healthcenter17/page/sub/17417/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/1/info/180949/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94-3RS-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81

(4 เม.ย.2566) แยกขยะให้ถูกถัง เพิ่มพลังรักษ์โลก

บางครั้งเราก็หลีกเลี่ยงที่จะสร้างขยะบางอย่างไม่ได้ เช่น เศษอาหาร กล่องนม กระป๋องน้ำ แบตเตอรี่หมดอายุ หลอดไฟขาด ฯลฯ ดังนั้นเมื่อสร้างขยะแล้วก็ต้องรู้จักแยกขยะให้ถูกวิธี เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้นำไปทำลายหรือรีไซเคิล อย่างถูกต้อง  ช่วยลดภาระให้กับโลกของเราอีกทางหนึ่ง ซึ่งการแยกขยะเบื้องต้นนั้นทำได้ง่ายมาก แค่ ทิ้งขยะ

ให้ถูกถังดังต่อไปนี้เท่านั้นเอง

       ถังขยะสีน้ำเงินหรือสีฟ้า รองรับขยะมูลฝอยทั่วไปที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น พลาสติกห่อขนม ถุงบรรจุผงซักฟอก บรรจุภัณฑ์เปื้อนอาหาร

       ถังขยะสีเขียว รองรับขยะมูลฝอยย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เศษผัก เปลือกผลไม้

       ถังขยะสีเหลือง รองรับขยะมูลฝอยที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋องเครื่องดื่ม

       ถังขยะสีส้มหรือสีแดง รองรับขยะมูลฝอยอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่

       ทั้งนี้ แม้ว่าในละแวะบ้านของคุณจะมีถังขยะครบถุงสี แต่การแยกขยะตั้งแต่ในบ้านก่อนนำมาทิ้ง ก็จะทำให้การจัดการขยะในขั้นตอนต่อไปง่ายขึ้น เพื่อโลกที่น่าอยู่ของพวกเราทุกคน


ข้อมูล: กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


(17 มี.ค.2566)   

18 มีนาคม “วันรีไซเคิลโลก” เพราะเราอาจลดคาร์บอน ตัวการหนึ่งของวิกฤตสภาพอากาศ ได้ถึงหนึ่งพันล้านตันต่อปี การรีไซเคิลจึงสำคัญ โลกผลิตทรัพยากรธรรมชาติหลายพันล้านตันในแต่ละปี แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ทรัพยากรเหล่านั้นอาจจะหมดลง หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง Global Recycling Foundation อยากให้สาธารณชนทั้งหลายคิดใหม่เกี่ยวกับสิ่งที่เราทิ้งไป โดยมองว่า “ไม่ใช่ขยะ แต่เป็นโอกาส” จึงกำหนดให้มี “วันรีไซเคิลโลก” หรือ “Global Recycling Day” ขึ้นมาให้ตรงกับทุกวันที่ 18 มีนาคม ของทุกปี


ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news/192457